operating system


operating system
ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

รายชื่อระบบปฏิบัติการ
รายชื่อต่อไปนี้เป็นรายชื่อของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ
ซีพีเอ็ม หรือ CP/M (Control Program/Monitor หรือ Control Program/Microcomputers) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งเดิมเขียนเพื่อทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพตระกูล 8080/85 ของอินเทล CP/M เริ่มเขียนโดย แกรี คิลดัล (Gary Kildall) แห่งบริษัท ดิจิทัล รีเสิร์ช (Digital Research, Inc.) เดิมเป็นระบบซิงเกิลทัสก์ และทำงานกับเฉพาะโพรเซสเซอร์ขนาด 8 บิต และหน่วยความจำไม่เกิน 64 กิโลไบต์ แต่รุ่นหลังรองรับการทำงานหลายผู้ใช้และขยายไปทำงานบนโปรเซสเซอร์ซึ่งปัจจุบันนี้ล้าสมัยแล้วหลังจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ขยายมาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต
ดอส (DOS; ย่อมากจาก Disk Operating System) เป็นชื่อเรียกระบบปฏิบัติการ หลายตัวที่พัฒนาโดยไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ ในช่วงปี พ.ศ. 2524-พ.ศ. 2538 (โดยถ้ารวมดอสในวินโดวส์ จะนับถึงปี พ.ศ. 2543) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการนี้เช่น PC-DOS, MS-DOS, FreeDOS, DR-DOS, Novell-DOS, OpenDOS, PTS-DOS, ROM-DOS เนื่องจากดอสมีผู้ผลิตหลายเจ้า เช่น PC-DOS จากไอบีเอ็ม และ MS-DOS จากไมโครซอฟท์ เป็นต้น และดอสอื่นๆ ระบบปฏิบัติการดอสส่วนมากทำงานภายใต้เครื่องไอบีเอ็มพีซีเสมือน ที่ใช้ซีพียู อินเทล x86
ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน
เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพกการ์ด และ โนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวีดีโอ
ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft
ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (อังกฤษ: Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก [1]
คำว่า วินโดวส์ มีความหมายที่หลากหลายซึ่งสามารถยกมาพอสังเขปได้ดังนี้
• สภาวะการทำงานแบบ 16 บิต วินโดวส์ 1.0 (พ.ศ. 2528) และวินโดวส์ 2.0 (พ.ศ. 2530) ยังเป็นสภาวะในการทำงาน (Operating Environments) หรือส่วนติดต่อผู้ใช้ อยู่บนอีกชั้นหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (ในที่นี้คือดอส)
ต่อมามี วินโดวส์ 3.0 (พ.ศ. 2533) และวินโดวส์ 3.1 (พ.ศ. 2535) รวมถึงวินโดวส์ 3.11 ที่เพิ่มความสามารถในการทำงานบนระบบเครือข่าย (Workgroup)
• ระบบปฏิบัติการ 16/32 บิต หลังจากวินโดวส์ 3.11 เพิ่มความสามารถด้านระบบไฟล์แบบ 32 บิตแล้ว วินโดวส์ก็มีความสามารถเพียงพอที่จะเป็นระบบปฏิบัติการ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาดอสอีกต่อไป วินโดวส์ 95 (พ.ศ. 2538) เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรก โดยรวมเอาดอสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ด้วย วินโดวส์ 98 (จำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ภายหลังได้ปรับปรุงและใช้ชื่อว่า วินโดวส์ 98 Second Edition หรือ วินโดวส์ 98SE ในปี พ.ศ. 2542 วินโดวส์ตัวสุดท้ายที่เป็นระบบปฏิบัติการกึ่ง 16 และ 32 บิต คือ วินโดวส์ Me (พ.ศ. 2543) ซึ่งอ้างอิงรากฐานตัวระบบมาจากวินโดวส์ 98 แต่ใช้หน้าตาส่วนติดต่อผู้ใช้ของวินโดวส์ 2000
• ระบบปฏิบัติการ 32 บิต เดิมได้รับการออกแบบมาสำหรับธุรกิจที่ต้องการประสิทธิภาพ โดยพัฒนามาใหม่หมดไม่ได้ใช้ดอสเป็นรากฐาน รุ่นแรกที่ออกคือ วินโดวส์เอ็นที 3.1 (ใช้เลขรุ่นเทียบกับวินโดวส์ 3.1 คำว่า NT ย่อมาจากคำว่า New Technology) ตามมาด้วย วินโดวส์เอ็นที 3.5 (พ.ศ. 2537) , วินโดวส์เอ็นที 3.51 (ค.ศ. 1995) และ วินโดวส์เอ็นที 4.0 (พ.ศ. 2539) หลังจากวินโดวส์ 95 วางตลาด ไมโครซอฟท์พยายามนำเอาเทคโนโลยี 32 บิตมาในวินโดวส์สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน วินโดวส์ 2000 เป็นรุ่นถัดมาของวินโดวส์เอ็นทีสำหรับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่วินโดวส์รุ่นสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน (รหัสว่า Windows Neptune) ล้มเหลวและยกเลิกการพัฒนาไป และใช้วินโดวส์ Me ทำตลาดแทน ในภายหลังโครงการ Neptune ถูกรวมกับโครงการ Whistler และกลายมาเป็นวินโดวส์เอกซ์พี (พ.ศ. 2544) รุ่นถัดมาของวินโดวส์ 2000 คือวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 นอกจากนี้ยังมีวินโดวส์ซีอีสำหรับอุปกรณ์พกพา และ Windows Vistaซึ่งพัฒนามาจาก Windows xp และWindows 7 ซึ่งเป็นชื่อของวินโดวส์รุ่นถัดไป
• ระบบปฏิบัติการ 64 บิต สำหรับซีพียูแบบ 64 บิต ของบริษัทเอเอ็มดี ในชื่อ X86-64[1] และอินเทล ในชื่อ EM64T คือ วินโดวส์เอกซ์พี x64 Edition และวินโดวส์ 2003 x64 Editionสำหรับ Windows Vista และ Windows 7 จะมีทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิต

[แก้] เส้นทางสายวินโดวส์
[แก้] วินโดวส์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน
• วินโดวส์โมเบิล (Windows Mobile) วินโดวส์ซีอี (Windows CE) ใช้สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว และอุปกรณ์พกพา
o พ็อคเกตพีซี (Pocket PC) สำหรับ PDA
o พ็อคเก็ตพีซีรุ่นสำหรับโทรศัพท์ (Pocket PC Phone Edition) สำหรับลูกผสมของ PDA และโทรศัพท์
o สมาร์ทโฟน สำหรับโทรศัพท์
o Portable Media Center สำหรับ Digital Media Players
• วินโดวส์เอกซ์พี สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุค (เลขรุ่น: NT 5.1.2600)
o Windows XP Starter Edition สำหรับคอมพิวเตอร์วางขายใหม่ ในประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทย)
o Windows XP Home Edition สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
o Windows XP Home Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
o Windows XP Professional Edition สำหรับธุรกิจและผู้ใช้ระดับสูง
o Windows XP Professional Edition N เป็นรุ่นที่ไม่ได้ติดตั้ง Windows Media Player ตามคำสั่งของคณะกรรมการของสหภาพยุโรป
o Windows XP Tablet PC Edition สำหรับโน้ตบุ้คที่มีจอแบบสัมผัส
o Windows XP Media Center Edition สำหรับเดสก์ท็อปและโน้ตบุ้คที่เน้นไปทางบันเทิงโดยเฉพาะ
• วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 สำหรับเซิร์ฟเวอร์ (เลขรุ่น: NT 5.2.3790)
o Small Business Server สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก (สนับสนุน 2 ซีพียู)
o Web Edition สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์ทั่วไป (สนับสนุน 2 ซีพียู)
o Standard Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ไม่ได้ทำคลัสเตอร์ (สนับสนุน 4 ซีพียู)
o Enterprise Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ หรือคลัสเตอร์ (สนับสนุน 8 ซีพียู)
o Datacenter Edition สำหรับเซิร์ฟเวอร์เทียบเท่าเมนเฟรม (สนับสนุน 128 ซีพียู)
o Storage Server สำหรับเก็บข้อมูลแบบเครือข่าย
• Windows XP Embedded สำหรับอุปกรณ์ฝังตัว
• วินโดวส์ วิสตา (Windows Vista) หรือชื่อเก่าคือ วินโดวส์ ลองฮอร์น (เลขรุ่น: NT 6.0.6002)
o Windows Vista Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวบรวมทุกความสามารถไว้ในตัวเดียว
o Windows Vista Enterprise ออกแบบมาสำหรับลดขั้นตอนการดูแล และเหมาะสำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง
o Windows Vista Business ออกแบบมาเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูล และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลต่ำ
o Windows Vista Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
o Windows Vista Home Basic ออกแบบให้มีฟังก์ชันพื้นฐานและไม่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น
o Windows Vista Starter มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
• วินโดวส์ 7 (Windows 7) หรือ วินโดวส์ เซเวน (Windows Seven) (เลขรุ่น: NT 6.1.7600)
o Windows 7 Ultimate เป็นเวอร์ชันที่รวมทุกๆ ความสามารถไว้ทั้งหมด
o Windows 7 Enterprise เหมือนรุ่น Ultimate แต่จำหน่ายให้ผู้ใช้ระดับองค์กรเท่านั้น
o Windows 7 Professional เหมือน Windows Vista Business แต่เพิ่มคุณสมบัติด้านความบันเทิงเข้ามาด้วยเหมือน Windows XP Professional
o Windows 7 Home Premium ออกแบบมาไว้สำหรับใช้ในบ้าน เพื่อความบันเทิง และเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย
o Windows 7 Home Basic มีขายในประเทศที่กำลังพัฒนา (รวมไทย)
o Windows 7 Starter รุ่นนี้ไม่มีขาย แต่ว่าจะติดมากับเน็ตบุ๊ค (Netbook) รุ่นใหม่ๆ เท่านั้น